dot dot


การเก็บพืชผลการเกษตร

 

เชื้อรา ตัวการก่อให้เกิดการเสื่อมเสียของอาหารในระหว่างการเก็บรักษา

นอกจากเชื้อราจะก่อให้เกิดการเสื่อมเสียของอาหารแล้วเชื้อรายังผลิตสารพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เช่น ราในกลุ่ม Aspergillus flavus และ Aspergillus parasiticus ที่สร้างสารพิษที่เรียกว่า อะฟลาท็อกซิน (aflatoxin)

 

ในประเทศไทยพบการปนเปื้อนของสารอะฟลาท็อกซินปริมาณสูงในพริกแห้งและพริกป่น รวมทั้งเครื่องเทศแทบทุกชนิดในอาหารไทย ที่ไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมคนไทยเป็นมะเร็งตับ อันดับต้นๆของโลก


 

นวัตกรรมเทคโนโลยีการเก็บถนอมอาหาร ด้วยการลดค่า water activity แบบไม่ใช้ความร้อนและป้องกันการเกิดสารพิษ aflatoxin จากเชื้อรา ด้วยเครื่องปรับสภาพบรรยากาศ        

         

 
               ปัญหาการเก็บระยะยาวของพืชผลการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวเป็นปัญหาที่สำคัญ อันเนื่องมาจากการเน่าเสียและการเกิดอะฟลาท็อกซิน ที่ถูกจัดอันดับเป็นสารก่อมะเร็งร้ายแรงที่สุดชนิดหนึ่งในโลก แถมยังทนความร้อนได้สูงมาก การปรุงอาหารจึงไม่สามารถทำลายได้
 
                อะฟลาท็อกซิน (aflatoxin) คือสารพิษที่ผลิตจากเชื้อรา (mycotoxin) ซึ่งผลิตจากเชื้อรา Aspergillus flavus และ Aspergillus paraciticus ซึ่งเชื้อราสองชนิดนี้สร้างสารพิษในภาวะที่มีความชื้นสูง อะฟลาท็อกซินได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ เนื่องจากการปรุงอาหารด้วยความร้อนธรรมดา เช่น การหุง นึ่ง ต้ม จะไม่สามารถทำลายพิษอะฟลาท็อกซินให้หมดไปได้ เพราะสารพิษนี้สามารถทนความร้อนไปสูงถึง 260 องศาเซลเซียส 

ตารางที่ 1 สถิติความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย %RH ของประเทศไทยในช่วงฤดูกาลต่างๆ
 
ภาค
ฤดูหนาว
ฤดูร้อน
ฤดูฝน
ตลอดปี
เหนือ
 ตะวันออกเฉียงเหนือ
 กลาง
 ตะวันออก
 ใต้ฝั่งตะวันออก
 ใต้ฝั่งตะวันตก
73
69
71
71
81
77
62
65
69
74
77
76
81
80
79
81
78
84
74
72
73
76
79
80
 
 จากตารางที่1 แสดงให้เห็นว่าภูมิอากาศของประเทศไทยทั่วทุกภาคเหมาะกับการเจริญเติบโตของเชื้อราเป็นอย่างมาก       

    ปัจจุบันการลดความชื้นของพืชผลการเกษตรหลังการเก็บเกี่ยวมีการใช้เทคโนโลยีอยู่ 2 วิธีคือ
 การใช้แสงอาทิตย์ เป็นแหล่งความร้อน โดยมีการเคลื่อนที่ของอากาศเป็นตัวช่วยพาความชื้นออกจากพืชผลการเกษตร ทำให้ความชื้นของพืชผลการเกษตรลดลง เป็นวิธีการที่ประหยัด ไม่ยุ่งยาก แต่มีข้อเสียคือ ต้องใช้แรงงานและพื้นที่ในการตาก และไม่สามารถควบคุมคุณภาพได้
 
การใช้เครื่องอบ วิธีนี้มีข้อดีคือ สามารถปฏิบัติได้ในทุกสภาวะอากาศ แม้ว่าฝนจะตกหรือมีแสงแดดน้อย ใช้พื้นที่น้อย สามารถควบคุมการลดความชื้น ให้อยู่ในระดับตามต้องการ สามารถควบคุมป้องกันความเสียหายต่อคุณภาพของพืชผลการเกษตรได้ แต่มีข้อเสีย คือ ค่าใช้จ่ายสูงและมีความสูญเสียของคุณภาพ
              
นอกจากการลดความชื้นหลังการเก็บเกี่ยวแล้ว สำหรับในส่วนของการเก็บรักษาระยะยาว(storage)ของพืชผลการเกษตรหลังการลดความชื้นแล้ว ปัจจุบันของประเทศไทยยังไม่มีวิธีใดที่ดีและเหมาะสมเนื่องจากภูมิประเทศของประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนชื้นทำให้โอกาสที่จะเน่าเสียเนื่องจากเชื้อรามีสูง
 
 
ตัวอย่างการเน่าเสียของหอมแดงที่ต้องทิ้งปีละหลายพันตัน บางส่วนส่งเข้าโรงงานทำน้ำพริกที่แน่นอนว่ามีการปนเปื้อนของอะฟลาท็อกซินอยู่สูง ผลร้ายก็ตกอยู่กับผู้บริโภคอย่างเราๆท่านๆ
 

 
ตารางที่ 2 แสดงการเจริญเติบโตของเชื้อโรคในอากาศกับความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศ

 


        

จากปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น หจก.วีรัชญา เอ็นจิเนียริ่ง ขอนำเสนอ นวัตกรรมเทคโนโลยีใหม่ของการลดความชื้นหลังการเก็บเกี่ยว(drying) และจัดเก็บรักษาพืชผลการเกษตร(storage) ด้วยเทคโนโลยี Low Temperature & Low Humidity ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เข้ามาทดแทนการลดความชื้นหลังการเก็บเกี่ยวและการจัดเก็บที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน โดยสามารถประยุกต์ใช้ได้กับพืชผลทางการเกษตรได้ทุกชนิดให้ปลอดจากสารพิษ aflatoxin 

 


บทความที่ได้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการนานาชาติของการกำจัดเชื้อรา Aspergillus flavus ด้วยเครื่องปรับสภาพบรรยากาศ

 

Download ดูฉบับเต็ม APA 14-064.pdf

 


 

 สนใจรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ 085-8468135

 


ตัวอย่างติดตั้งเครื่องปรับสภาพบรรยากาศในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหาร

 







Copyright © 2010 All Rights Reserved.